ได้แก่ เหล็ก ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทังสเตน อะลูมิเนียม แคดเมียม นิกเกิล โครเมียม วาเนเดียม และแมกนีเซียม เป็นต้น
การสำรวจแร่ในแต่ละขั้นตอนจะมีวัตถุประสงค์และใช้เทคนิคการสำรวจดังนี้
การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลในสำนักงานเพื่อคัดเลือกบริเวณที่คาดว่าจะมีแหล่งแร่สะสมตัวอยู่ โดยวิธีการรวบรวม วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทางอากาศนำมาประมวลผลร่วมกันเพื่อกำหนดขอบเขตบริเวณที่น่าสนใจ สำหรับงานสำรวจภาคพื้นดินในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) มาใช้เพื่อช่วยให้งานด้านการคัดเลือกพื้นที่ ที่จะทำการสำรวจมี่ประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
การสำรวจขั้นต้น ขั้นกึ่งรายละเอียด และขั้นรายละเอียด เป็นขั้นตอนการสำรวจในภาคสนามเพื่อกำหนดพื้นที่ศักยภาพทางแร่ที่ขนาดพื้นที่ต่างๆกันทั้ง 3 ขั้นตอนจะใช้เทคนิคการสำรวจ 4 ชนิดผสมผสานกันคือ เทคนิคการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ และเจาะสำรวจทั้งนี้การประยุกต์ใช้เทคนิคการสำรวจในแต่ละขั้นตอนขึ้นอยู่กับชนิดแร่ สภาพทางธรณีวิทยา สภาพภูมิประเทศ ตลอดจนรายละเอียดของข้อมูล การลงทุนสำรวจในขั้นรายละเอียดจะสูงมากเมื่อเทียบกับการสำรวจขั้นต้นและขั้นกึ่งรายละเอียด
ประเมินแหล่งแร่ เป็นการสำรวจขั้นสุดท้ายเพื่อประเมินปริมาณ คุณภาพ และมูลค่าแหล่งแร่ โดยการเจาะสำรวจ ทดลองแต่งแร่ รวมทั้งสำรวจโครงสร้างพื้นฐาน และประเมินโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทำเหมือง โดยทั่วไปไปภาครัฐจะดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน จนถึงขั้นกึ่งรายละเอียด หากพบพื้นที่ศักยภาพแร่ที่น่าสนใจรัฐจะให้เอกชนดำเนินการสำรวจต่อในขั้นรายละเอียด และประเมินแหล่งแร่เพื่อพัฒนาทำเหมืองต่อไป