การเจาะสำรวจด้วยหัวเจาะเพชร( กระบอกคอริ่ง ) ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพื่อเก็บตัวอย่างใต้พื้นที่ มาดูส่วนประกอบแร่ และสิ่งต่างๆ. โดยการเจาะเก็บแท่งตัวอย่างในพื้นที่ออกมาเป็น แท่งทรงกระบอก ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกเจาะที่ใช้ , นักธรณีวิทยาสามารถวิเคราะห์แท่งตัวอย่างโดยใช้สารเคมีเพื่อตรวจสอบ แท่งเก็บหินเหล่านี้
การเจาะด้วยหัวเจาะเพชร (การคอริ่ง)
คอริ่งในงานสำรวจ แตกต่างจากการเจาะในทางธรณีวิทยาในแบบอื่นๆ ซึ่งจะได้แท่ง ที่เป็นเนื้อตัวอย่างที่เป็นของแข็งออกมาตามความลึกที่เจาะไป. กุญแจสำคัญเทคโนโลยีของ การเจาะด้วยหัวเจาะเพชร (การคอริ่ง) เป็นการใช้ผงเพชรผสมไปในฟันกระบอกคอริ่งผสมกับวัสดุต่างๆรวมเป็นเนื้อฟัน. ในระหว่างที่เจาะเพชรที่ผสมในฟันจะขุดเนื้อวัสดุออกเป็นชั้นๆ
ส่วนตัวกระบอกคอริ่งต่อกับตัวเครื่องเจาะ (RIG) น้ำต้องถูกต่อเข้าไปใช้ในระหว่างเจาะผ่านกระบอกคอริ่งจากด้านใน, เพื่อทำหน้าที่ลดอุณหภูมิที่ปลายฟันคอริ่งขณะเจาะซึ่งเสียดสีวัสดุ และคายเศษวัสดุขึ้นออกขึ้นไปกับน้ำผุดที่ขอบรูขณะเจาะ ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการผลิต กระบอกคอริ่งเป็นเรื่องซับซ้อน, ซึ่งมีการออกแบบกระบอกคอริ่งที่ใช้สำหรับงานเจาะหินโดยเฉพาะแบบหนึ่ง สำหรับงานคอนกรีตอีกแบบหนึ่ง
การเจาะนั้นใช้ เพชร ผสมลงไปในฟันของ กระบอกคอริ่ง เพื่อเจาะผ่านหิน ในการเจาะจะได้ “แท่ง” ที่แกนกลางของรูที่เจาะตามความยาวไปด้วย แท่งแกนกลางที่ได้จะใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ในงานสำรวจ โดยครึ่งหนึ่งของแท่งจะถูกนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บไว้อย่างถาวรเพื่อใช้ในอนาคต และตรวจสอบอีกครั้งในอนาคตกรณีจำเป็น แม้ว่าแท่งตัวอย่างที่เจาะเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่เป็นที่ต้องการมากที่สุด แต่ค่าใช้จ่ายก็แพงที่สุด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่พบมากที่สุดของแท่งตัวอย่างคือ NQ Size